1. ที่มาและความสำคัญ

          ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควันล่วงหน้า เป็นระบบที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ค่าดัชนีความร้อนที่คำนวณจากข้อมูลพยากรณ์อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ล่วงหน้า และค่าพยากรณ์ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาด 10 ไมครอน (PM10) แบบจำลอง WRF-Chem โดยระบบจะนำเข้าข้อมูลพยากรณ์ดัชนีความร้อนและความเข้มข้นของฝุ่น (PM10) ผนวกกับเกณฑ์การเตือนภัยและผลกระทบต่อสุขภาพ โดยทำการประมวลผลล่วงหน้า 1 วัน 3 วัน และ 5 วัน แบบต่อเนื่อง พร้อมทั้งแสดงผลเป็นสัญลักษณ์แบ่งตามระดับความรุนแรง (สีฟ้า สีเหลือง สีส้ม และสีแดง) ในแผนที่ Google Maps ผ่านช่องทางการสื่อสารด้วยเว็บไซต์

 

2. ข้อมูลพื้นฐานพื้นที่นำร่อง (อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา)

          อำเภอแม่ใจ มีเนื้อที่ประมาณ 3,007.61 ตารางกิโลเมตร หรือ 187,975 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มระหว่างภูเขา ลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดู มีจำนวนหลังคาเรือน 9,736 หลังคาเรือน จำนวนประชากร เมื่อ พ.ศ. 2561 มีจำนวน 33,491 คน อำเภอแม่ใจแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น ตำบล 66 หมู่บ้าน มีหน่วยบริการสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 9 แห่ง สถานบริการสุขภาพชุมชน จำนวน 2 แห่ง (ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1แผนที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

3. การพัฒนากลไกลการสื่อสารข้อมูลระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควันล่วงหน้า

          เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของประชาชน การพัฒนากลไกการสื่อสารข้อมูลระบบเตือนภัยฯ ด้วยการนำข้อมูลที่ได้จากระบบเตือนภัยฯ แปลงเป็นข้อมูลข่าวสารการเตือนภัยในระดับชุมชนผ่านรูปแบบสื่อการเรียนรู้อย่างง่ายประกอบด้วย (1) แผ่นป้ายพยากรณ์สถานการณ์ความร้อนและหมอกควันล่วงหน้า 1 วัน (2) Info graphic ข้อมูลค่าดัชนีความร้อนและปริมาณหมอกควัน ระดับผลกระทบต่อสุขภาพ และข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวในช่วงที่เกิดสถานการณ์ความร้อนและหมอกควัน (3) บทความ/ วิทยุ ประกาศแจ้งเตือนและสื่อสารข้อมูลสู่ประชาชนในพื้นที่ และ (4) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความร้อนและหมอกควัน ซึ่งกระบวนการทำงานที่สำคัญที่สุด คือ ขั้นตอนการประชุมปรึกษาหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ใจ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถึงแนวทาง/ วิธีการ และขั้นตอนการสื่อสารข้อมูลในพื้นที่ภายใต้การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและดำเนินงานไปด้วยกัน

ภาพที่ 2 การประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับหน่วยงานในพื้นที่

4. ขั้นตอนการทดลองใช้งานระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควันล่วงหน้า

          Line application เป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลเตือนภัยความร้อนและหมอกควันในระดับพื้นที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนหรือหน่วยงานทั้งสิ้น 4 องค์ประกอบ คือ (1) ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่สังเคราะห์ข้อมูลพยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนและหมอกควัน (2) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลพยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนและหมอกควันและส่งต่อไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (3) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเตือนภัยสู่ชุมชน และ (4) ผู้นำชุมชน ทำหน้าที่ประกาศแจ้งเตือนและให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนในระดับพื้นที่ ภาพที่ 3 แสดงการดำเนินงานสื่อสารเตือนภัยความร้อนและหมอกควันในภาพรวม ในขณะที่ขั้นตอนการดำเนินงานสื่อสารข้อมูลในระดับพื้นที่ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังแสดงในภาพที่ 4 ซึ่งการดำเนินงานสื่อสารข้อมูลด้วยวิธีการที่พัฒนาขึ้น 3 รูปแบบ ดังแสดงในภาพที่ 5

ภาพที่ 3 ขั้นตอนการดำเนินงานสื่อสารเตือนภัยความร้อนและหมอกควันในภาพรวม

ภาพที่ 4 ขั้นตอนการสื่อสารข้อมูลในระดับพื้นที่

ภาพที่ 5 วิธีการสื่อสารข้อมูลเตือนภัยความร้อนและหมอกควันที่ดำเนินการในพื้นที่

5. ผลการดำเนินงานของแต่ละโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 9 แห่ง

ภาพที่ 6 การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยความร้อนและหมอกควันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สุก

ภาพที่ 7 การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยความร้อนและหมอกควันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ใจ

ภาพที่ 8 การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยความร้อนและหมอกควันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านป่าตึง

ภาพที่ 9 การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยความร้อนและหมอกควันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่า

ภาพที่ 10 การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยความร้อนและหมอกควันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านดงอินตา

ภาพที่ 11 การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยความร้อนและหมอกควันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองสระ

ภาพที่ 12 การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยความร้อนและหมอกควันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าแฝก

ภาพที่ 13 การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยความร้อนและหมอกควันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจริญราษฎร์

ภาพที่ 14 การสื่อสารข้อมูลเตือนภัยความร้อนและหมอกควันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีถ้อย