ที่มาและความสำคัญ


การศึกษานี้ ได้นำกรอบแนวคิดขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกและองค์การอนามัยโลก “Heat Waves and Health: Guidance on warning system development” มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับใช้เตือนภัยล่วงหน้า โดยระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทำงานแบบอัติโนมัติ มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ค่าดัชนีความร้อนที่คำนวณจากข้อมูลพยากรณ์อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ล่วงหน้า และค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาด 10 ไมครอน (PM10) ที่ได้จากการจำลองด้วยแบบจำลอง Weather Research Forecast (WRF-Chem) โดยระบบจะนำเข้าข้อมูลพยากรณ์ดัชนีความร้อนและปริมาณความเข้มข้นของฝุ่น PM10 ล่วงหน้า 3 และ 5 วัน แบบต่อเนื่องทุกวัน ครอบคลุมพื้นที่ 112 อำเภอ 9 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ พะเยา ตาก และแม่ฮ่องสอน) ในเบื้องต้นได้จัดทำเกณฑ์ระดับการเตือนภัยและผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้ 1. สีฟ้า หมายถึง ปลอดภัย (HI 27-32 °C / PM10 0-50 µg/m3) 2. สีเหลือง หมายถึง เฝ้าระวัง (HI 32-41 °C / PM10 50-120 µg/m3) 3. สีส้ม หมายถึง อันตราย (HI 41-54 °C / PM10 121-350 µg/m3) และ 4. สีแดง หมายถึง อันตรายมาก (HI >54 °C / PM10 >350 µg/m3) และแสดงผลใน Google Maps

ทดลองใช้ระบบ ดาวน์โหลดตำแหน่งพิกัดของอำเภอทั้ง 112 อำเภอ
ดาวน์โหลดข้อมูลดัชนีความร้อน (หลังเวลา 13.00 น.)
ดาวน์โหลดข้อมูลปริมาณหมอกควัน
การทดสอบความแม่นยำและความคลาดเคลื่อนของข้อมูล
การดำเนินงานในพื้นที่นำร่อง
เอกสารเผยแพร่